วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning)


.....Blended learning เป็นการผสมผสานวิธีหลายๆวิธีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้(teaching and learning ) เช่น การสอนในชั้นเรียนร่วมกับการสอนผ่านเครือข่าย(a combination of face-to-face and online Learning) ซึ่งตรงกับความคิดของผมที่ว่า "ไม่มีวิธีการสอนแบบใดแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ ต้องอาศัยวิธีการหลายๆวิธีนำมาผสมผสานกัน" จึงจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และ Blended learning เหมาะกับการศึกษาด้านวิชาชีพ การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะด้านฝีมือที่ต้องอาศัยความชำนาญ เพื่อพัฒนาผู้เรียนจาก Novice ไปสู่ Expert.
....."blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม"
แหล่งที่มา http://researchers.in.th/blog/boonphakdee/178

.....การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและของสังคมอยู่ตลอดเวลา การจัดการศึกษาในปัจจุบันนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ได้เข้ามามีความสำคัญและมีบทบาทต่อการจัดการศึกษาในทุกระดับ คอมพิวเตอร์ก็นับว่าเป็นผลผลิตทางเทคโนโลยี ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของนักเรียน นักศึกษา การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นวิธีการสอนแบบหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะเป็นวิธีที่ใช้หลักการจัดการให้ตอบสนองในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ นักเรียนจะสามารถเรียนได้ตามความสามารถและความสนใจของแต่ละคน
.....การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) เป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ประยุกต์ โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ใน เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web) มาส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ (Khan, 1997 : Karen, 1998) ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูล การอ้างอิง ประกอบการเรียน บทเรียนสำเร็จรูป เนื่องจาก เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน เป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูล เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนการสอนไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อสาร (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542: 23-25)
.....ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อนมนุษย์ (Human connection) การกำกับตนเอง (Self-regulation) การเรียนรู้ด้วยตนเองและการกำหนดทิศทางต่อการเรียนของผู้เรียน และผู้เรียนบางคนไม่สามารถศึกษาด้วยตนเอง การเรียนรู้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ได้ แนวทางในการแก้ปัญหานี้อาจทำได้โดยการจัดการเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) ซึ่ง Thorne (2003) ให้ความหมายการเรียนการสอนแบบผสมผสานว่า เป็นการรวมนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์บนการเรียนแบบออนไลน์ และการมีส่วนร่วมในการเรียนแบบดั้งเดิมคือในห้องเรียน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการเรียนรู้ มีส่วนสนับสนุนและช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น
แหล่งที่มา http://www.swpark.or.th/incu/2.htm

โมบาย เลิร์นนิ่ง M-learning

.....ในปัจจุบันการศึกษาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เป็นการศึกษาแบบ Global ไม่ใช่แบบ Local นั่นหมายความว่า เป็นการศึกษาไม่เฉพาะแต่ภายในส่วนเล็กๆ หรือ ประเทศของตนเองเท่านั้น แต่เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมในทุกประเทศทั่วโลก มีการแลกเปลี่ยนความรู้จากซีกโลกหนึ่งไปสู่อีกซีกโลกหนึ่งอย่างรวดเร็วและง่ายดาย ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ยิ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารเติบโตมากขึ้นเท่าไร วิธีการศึกษาก็สามารถพัฒนาได้รวดเร็วขึ้นเป็นเงาตามกัน หากพูดถึงการศึกษาหรือการเรียน ความคิดแวบแรกของเราก็คือ การเข้าไปนั่งเรียนในชั้นเรียน เจออาจารย์ผู้สอนหน้าต่อหน้า แต่เมื่อมีการสื่อสารทางไปรษณีย์ การศึกษาแบบใหม่ก็เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่อยู่ไกลสถานที่เรียน หรือไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนได้ เราเรียกการศึกษาแบบนี้ว่า การศึกษาแบบเรียนทางไกลหรือเรียนทางไปรษณีย์ (Distance Learning หรือ d-Learning) ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าการส่งไปรษณีย์ นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงเกิด e-Learning หรือ Electronic Learning ขึ้น เป็นการเรียนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ , PDA และ Laptop computer ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาแบบ e-Learning จึงกลายมาเป็น m-Learning หรือ mobile learning นั่นเอง

.....ในช่วงปี ค.ศ. 1995 – 2000 การศึกษาแบบ e-Learning โด่งดังเป็นอย่างมากไม่ว่าจะทั้งในประเทศไทยเราเอง และต่างประเทศ แทบทุกคนก็คิดว่า e-Learning คงเป็นเทคโนโลยีสุดท้ายที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการศึกษาทางไกล แต่ความไม่แน่นอนก็เกิดขึ้น เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) ได้เข้ามามีบทบาทและเติบโตอย่างมากในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์แบบไร้สายต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่อุปกรณ์แบบมีสาย (wired) ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ เมื่อมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีแบบไร้สาย เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ก็ถูกพัฒนาตามขึ้นไปด้วย ซึ่งได้แก่ Bluetooth, WAP (Wireless Application Protocol), GRPS (General Packet Radio System) และ UMTS (Universal Mobile Telecommunications System) เมื่อเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไป วิธีการศึกษาหาความรู้ก็ถูกพัฒนาตามไปด้วย m-Learning จึงเกิดขึ้น m-Learning ย่อมาจาก mobile learning ซึ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning เป็นการผสมผสานที่ลงตัวของการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เทคโนโลยีที่กล่าวถึงนี้ก็คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย เราเรียกการเรียนแบบนี้ว่า Wireless Learning , Mobile Learning หรือ m-Learning

.....ดังนั้น m-arning คือ การศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA และ laptop computerในปัจจุบันวิธีการศึกษาแบบ m-Learning นั้นยังไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก คงเห็นเพียงแต่การวิจัยของสถาบันการศึกษา และบริษัทที่ให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ERICSSON และ NKI Distance Education หรือ NKI อินเทอร์เน็ต College ประเทศนอร์เวย์ เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนแบบทางไกลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมมือกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเรื่อง m-learning ว่ารูปแบบวิธีการเรียนจะเป็นอย่างไรโดยผ่านอุปกรณ์ไร้สายต่างๆนอกจากนี้บริษัท ERICSSON ได้มีการวิจัยและรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เรื่อง d-learning , e-learning จนกระทั่ง m-learning ในขั้นต้นบริษัท ERICSSON ได้ลองทดสอบการเรียนรู้แบบ m-learning กับโทรศัพท์มือถือรุ่น R320, R380 และ R520 โดยเครื่องรุ่น R380 หน้าจอเป็นแบบแนวนอน

.....นอกนั้นเป็นแนวตั้ง และจากการศึกษาก็พบว่าโทรศัพท์รุ่น R380 สามารถแสดงผลได้ดีกว่าอีกสองรุ่น เพราะหน้าจอที่เป็นแนวนอนจะสามารถแสดงผลข้อมูลตัวอักษรและข้อมูลรูปภาพได้ดีและมากกว่าหน้าจอที่เป็นแนวตั้ง

.....ด้อยของการเรียนรู้แบบ m-learning อุปกรณ์ไร้สายส่วนมากมีหน้าจอเล็ก , การประมวลผลช้า ,หน่วยความจำที่จำกัดและน้อยกว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากหากเทียบกับการเรียนรู้ทางไกลแบบอื่นๆ (d-learning และ e-learning) ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้การพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ และ PDA นั้นอาจเติบโตได้ช้า แต่หากเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ การเรียนแบบนี้ ก็จะเอื้อประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการเรียนและสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเข้าสังคม เรียกได้ว่าเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น เราคงต้องฝากความหวังไว้ให้กับผู้พัฒนาทั้งหลาย ที่จะผลิตอุปกรณ์ไร้สายที่เหมาะสำหรับการเรียน และวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพ และคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ คนไทยจะได้สัมผัสการเรียนรู้แบบ m-learning อย่างแน่นอน
แหล่งที่มา http://emo-momo.blogspot.com/2008/12/flexible-learning-approach-3-1.html

Global Learning

.....ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ Welcome to Global Learning ด้วยการผสมผสานอย่างลงตัวของเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และเนื้อหาบทเรียน การเรียนรู้เรื่องต่างๆจึงกลายเป็นเรื่องสนุก และง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสระบบ Online Learning เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี Internet ซึ่งจะนำเสนอบทเรียน ในรูปแบบของการผสมผสานระหว่างวิดีโอ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และตัวอักษร ทำให้บทเรียน มีความน่าสนใจ และง่าย ต่อการทำความเข้าใจเนื่องจากผู้เรียน Online Learning สามารถเรียนรู้ทุกเรื่องราวได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้ Online Learning เป็นสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สมบูรณ์แบบที่สอดคล้องกับ ความต้องการและวิถีชีวิต ของบุคลากรในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ต้องการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ
แหล่งที่มา http://emo-momo.blogspot.com/2008/12/flexible-learning-approach-3-1.html

การเรียนโดยที่มีที่ปรึกษา(Mentored learning)

.....การเรียนโดยที่มีที่ปรึกษา(Mentored learning)เป็นกระบวนการที่ผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้กับผู้อื่น การฝึกอบรมจะเกิดขึ้นในสถานที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ หรือเกิดขึ้นใกล้ ๆ กับสถานที่ปฏิบัติงานมากที่สุดโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้และการปฏิบัติในเวลาเดียวกันเป็นวิธีการเบื้องต้นที่องค์กรนำมาใช้สำหรับพัฒนา

แหล่งที่มา http://emo-momo.blogspot.com/2008/12/flexible-learning-approach-3-1.html

แนวคิดการเรียนแบบยืดหยุ่น

แนวคิดการเรียนแบบยืดหยุ่น (Flexible Learning Approach)
.....เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนและสามารถบริหารตนเองได้ โดยสามารถตัดสินใจว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร เรียนเมื่อไหร่ และเรียนที่ไหนก็ได้ ตามศักยภาพความสนใจและความถนัดของตนเอง โดยเน้นการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ รู้จักวางแผนการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์และตรงกับความต้องการมากที่สุด
.....คุณลักษณะ 3 ประการที่ใช้เป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมการเรียนแบบยืดหยุ่น
.....1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมต้องมีหลากหลาย เพื่อเอื้อต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา การนำวิธีที่ยืดหยุ่น (Flexible approach) มาใช้ในการเรียนและการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ได้หลายวิธี เช่น การเรียนแบบเปิด (Open Learning) การเรียนทางไกล(Distance Learning) การเรียนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน
..........1.) สามารถเรียนรู้ได้มากและรวดเร็วและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย
..........2) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ตามศักยภาพและความสนใจของตนเอง
.....2. ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเนื้อหาและกิจกรรมต้องตอบสนองความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถเรียนได้เต็มศักยภาพ โดยเน้นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดสภาพการเรียนรู้ควรจัดในลักษณะดังต่อไปนี้
.........1) ให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเวลาเรียนและสถานที่ได้ตามความต้องการ
.........2) การจัดหน่วยการเรียน (Modules) หรือโปรแกรมการเรียนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามความสนใจ และสามารถเลือกที่จะเรียนกับผู้สอนและเพื่อนคนอื่นๆ ได้หลากหลาย
.........3) การประเมินผลจะต้องสอดคล้องกับการทำกิจกรรมการเรียน อาจจัดได้หลากหลายให้เป็นทางเลือกในการเรียนการสอนได้แก่การเรียนเป็นคู่ หรือการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือเรียนโดยการปรึกษากับผู้สอน
.........4) เน้นให้ผู้เรียนลงปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง (Active Learners) ไม่ใช่การเรียนแบบเป็นผู้รับ (Passive Learners) แต่ฝ่ายเดียว
.....3. มีแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งนี้ การเรียนรู้อย่างยืดหยุ่นมีพื้นฐานมาจากการเรียนโดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
.........1) เข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ที่หลากหลาย
.........2) วางแผนการใช้แหล่งข้อมูลเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ
.........3) เลือกและวิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาที่กำหนดให้และนำเสนอในรูปแบบของการรายงาน
.........4) พัฒนาทักษะการจัดการข้อมูล และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา http://emo-momo.blogspot.com/2008/12/flexible-learning-approach-3-1.html
Background.MyEm0.Com